ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' สาสน, สาสน–, สาสน์, สาส์น '

    สาสน, สาสน–, สาสน์, สาส์น  หมายถึง [สาน, สาสะนะ–, สาดสะนะ–, สาด, สาน] น. คําสั่ง, คําสั่งสอน,เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียนเป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสนหรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • สาสน, สาสน–, สาสน์, สาส์น

    [สาน, สาสะนะ–, สาดสะนะ–, สาด, สาน] น. คําสั่ง, คําสั่งสอน,เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียนเป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสนหรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).

  • สาสนธรรม

    น. คําสั่งสอนทางศาสนา.

  • สาสนา

    [สาดสะหฺนา] น. ศาสนา, คําสั่งสอนของศาสดา. (ป. สาสน;ส. ศาสน).

  • สาสม

    [สา–สม] ว. เหมาะ, สมควร, เช่น ต้องลงโทษให้สาสมแก่ความผิด.

  • สาหร่าย ๑

    น. ชื่อพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีลําต้น ใบ และรากที่แท้จริง แต่มีคลอโรฟิลล์ บ้างเป็นเซลล์เดียว บ้างเป็นกลุ่มเซลล์เป็นสาย หรือเป็นต้นคล้ายพืชชั้นสูง ขึ้นทั่วไปในนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ เช่น สาหร่ายไส้ไก่ [Enteromorpha intestinalis (L.) Link] ในวงศ์ Ulvaceae; ชื่อพืชชั้นสูงที่มีดอกบางชนิดซึ่งขึ้นอยู่ในนํ้า เช่น สาหร่ายพุงชะโด(Ceratophyllum demersum L.) ในวงศ์ Cerato-phyllaceae สาหร่ายเส้นด้าย (Najas graminea Del.) ในวงศ์ Najadaceae.

  • สาหร่าย ๒

    น. ชื่อลายประเภทเครื่องห้อยแบบหนึ่งนิยมประดับริมเสามุขเด็จพระมหาปราสาทหรือพระอุโบสถเป็นต้น.

  • สาหรี

    [–หฺรี] ว. งาม, น่ารัก, ดี. (ช.).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒